2 กรกฎาคม ‘วันลอยตัวค่าเงินบาท’ สู่ครบรอบ 25 ปี ‘วิกฤติต้มยำกุ้ง’

วันที่ 2 กรกฎาคม 2565 เป็นวันครบรอบ 25 ปี ที่ทางการไทยประกาศลอยตัวค่าเงินบาทเมื่อปี 2540 และเปลี่ยนมาใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวแบบมีการจัดการ (Managed Float Exchange Rate Regime) โดยการตัดสินใจในครั้งนั้น นับเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนของไทย จากเดิมที่ใช้นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนแบบผูกติดกับตะกร้าเงิน ทำให้ค่าเงินไม่สอดคล้องกับพื้นฐานเศรษฐกิจที่แท้จริง จนทำให้เกิดการโจมตีค่าเงินบาท จนเกิดวิกฤติการเงิน มาสู่วิกฤติเศรษฐกิจไทยครั้งใหญ่ที่เรียกกันว่า “วิกฤติต้มยำกุ้ง”

วนเวียนมาครบรอบ 25 ปีแล้วสำหรับวิกฤติต้มยำกุ้ง ในปี 2565 นี้ มามองผ่านมุมมองบทวิเคราะห์จาก “ศูนย์วิจัยกสิกรไทย” ที่เขียนข้อมูลไว้อย่างน่าสนใจ

โดยเริ่มจากเปรียบเทียบค่าเงินบาทในช่วงปี 2540 กับปัจจุบันมีความแตกต่างกันอย่างมาก แม้เงินบาทในปีนี้มีทิศทางอ่อนค่า แต่สอดคล้องกับหลายสกุลเงินในเอเชีย ซึ่งล้วนได้รับผลกระทบจากปัจจัยของเงินดอลลาร์ฯ โดยเฉพาะการเร่งขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ เมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว จะพบว่า สถานการณ์ในปัจจุบันมีความแตกต่างจากปี 2540 เพราะในปี 2540 เงินบาทที่อ่อนค่าเป็นผลมาจากการปรับอ่อนค่าหลังมีการลอยตัวค่าเงินเพื่อสะท้อนปัจจัยพื้นฐานที่อ่อนแอของไทยในเวลานั้น

เมื่อปี 2540 เศรษฐกิจไทยมีปัญหาความไม่สมดุลหลายด้าน ภาคเอกชนและสถาบันการเงินขาดการตระหนักถึงความเสี่ยง มีการใช้จ่ายและกู้ยืมเกินตัวเปิดความเสี่ยงด้าน Maturity and Currency Mismatch มีการก่อหนี้ต่างประเทศสูง และมีการเก็งกำไรอย่างกว้างขวางในตลาดอสังหาริมทรัพย์ เศรษฐกิจภาพรวมมีปัญหาขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเรื้อรัง ขณะที่อัตราแลกเปลี่ยนตรึงไว้กับตะกร้าเงิน ซึ่งทำให้ถูกโจมตีค่าเงิน และทางการไทยจำเป็นต้องนำทุนสำรองระหว่างประเทศไปใช้ดูแลเสถียรภาพค่าเงินบาท โดยในเวลานั้น เงินสำรองระหว่างประเทศสุทธิลดลงเหลือเพียง 2,800 ล้านบาท ณ มิ.ย. 2540

กลับมามองที่สถานการณ์ในปัจจุบัน จุดที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างเห็นได้ชัดเจน ก็คือ ทุนสำรองระหว่างประเทศที่สูงและแข็งแกร่งกว่าในอดีตมาก โดยระดับเงินสำรองระหว่างประเทศสุทธิ (เงินสำรองฯ และ Net Forward Position) ของไทยในปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 2.51 แสนล้านบาท ณ 24 มิ.ย. 2565 ซึ่งสามารถรองรับภาระหนี้ต่างประเทศระยะสั้น การนำเข้า 3 เดือน และหนุนหลังการพิมพ์ธนบัตรได้เต็มจำนวน

ขณะที่สัดส่วนหนี้ต่างประเทศลดลงมาอยู่ที่ระดับ 38.2% ต่อจีดีพี ณ สิ้นปี 2564 นอกจากนี้ทางการได้เข้ามาดูแลการเก็งกำไรในตลาดอสังหาริมทรัพย์เป็นระยะผ่านมาตรการ อาทิ การกำหนดเกณฑ์ LTV ทำให้คลายกังวลต่อปัญหาดังกล่าวลงบางส่วน ซึ่งภาพเหล่านี้สะท้อนการเรียนรู้บทเรียนจากอดีตและการวางแนวทางเพื่อไม่ให้ไทยซ้ำรอยเดิม

อย่างไรก็ดี คงต้องยอมรับว่า สถานการณ์เศรษฐกิจไทยในปัจจุบันมีโจทย์จากปัจจัยภายนอก ซึ่งไม่เหมือนกับในอดีต โดยปัจจุบันมีต้นตอของปัญหามาจากโควิด-19 สงครามยูเครน-รัสเซีย ซึ่งกระทบราคาน้ำมัน รวมถึงการปรับขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐ ทำให้มีทั้งประเด็นเฉพาะหน้าและโจทย์เชิงโครงสร้างที่ยังต้องติดตาม

หนี้ต่างประเทศ จากบทเรียนในอดีตสะท้อนว่าประเด็นที่ต้องระมัดระวัง คือ ความผันผวนด้านอ่อนค่าของเงินบาทที่จะทำให้ภาระหนี้เพิ่มขึ้น และเมื่อดูเฉพาะในส่วนของหนี้ต่างประเทศระยะสั้นที่มียอดคงค้างที่ 7.42 หมื่นล้านดอลลาร์ พบว่า ราว 58.8% หรือ 4.37 หมื่นล้านดอลลาร์ เป็นหนี้ของภาคธุรกิจ ซึ่งคงต้องมีการบริหารจัดการความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนในวิธีที่เหมาะสมกับกระแสรายรับ-รายจ่ายในรูปเงินตราต่างประเทศของแต่ละราย

หนี้ของภาคครัวเรือน ภาคธุรกิจ และภาครัฐขยับสูงขึ้น เมื่อรวมกันแล้ว คิดเป็นสัดส่วน 228.4% ต่อจีดีพี (หนี้ครัวเรือน 90% หนี้ธุรกิจ 78.8% และหนี้สาธารณะ 59.6% ต่อจีดีพี) ซึ่งเป็นระดับที่สูงกว่า 149.8% ต่อจีดีพีในช่วงปี 2540 แต่สถานการณ์ในปัจจุบันมีความแตกต่างและมีสาเหตุที่ไม่เหมือนกับช่วงวิกฤติปี 2540 โดยในปี 2540 ต้นตอปัญหามาจากการก่อหนี้ต่างประเทศและมาปล่อยกู้ผ่านวิเทศธนกิจไทย หรือ BIBF สถานการณ์ในปัจจุบันหนี้ของภาคเอกชนและภาครัฐส่วนใหญ่เป็นหนี้สกุลเงินบาทจากสภาพคล่องในประเทศเป็นหลัก

นอกจากนี้คงต้องยอมรับว่า สาเหตุส่วนหนึ่งของหนี้ที่เพิ่มขึ้นทั้งภาครัฐและภาคเอกชนมาจากการที่ต้องเผชิญกับวิกฤติซ้อนวิกฤติหลายระลอกในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ดังนั้น แม้ปัญหาหนี้สินที่เพิ่มสูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมา โดยเฉพาะในภาคครัวเรือน จะเป็นโจทย์ระยะยาวที่ต้องมีการเข้าไปดูแล แต่ก็ไม่น่าจะสร้างปัญหาในระยะสั้นเหมือนกับหนี้ BIBF ในช่วงวิกฤติปี 2540

เศรษฐกิจไทยปัจจุบัน มีข้อจำกัดการเติบโตด้านรายได้ในระยะข้างหน้า โดยเศรษฐกิจที่พึ่งพิงการท่องเที่ยวและบริการที่เกี่ยวเนื่องเป็นสัดส่วนสูง ดังนั้นแม้ไทยเริ่มเปิดประเทศ แต่การฟื้นตัวยังไม่ทั่วถึงและขึ้นอยู่กับเงื่อนไขการควบคุมสถานการณ์ของโรค ทำให้ความสามารถในการหารายได้ โดยเฉพาะของธุรกิจเอสเอ็มอีและประชาชนรายย่อยยังไม่กลับมาเป็นปกติคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

นอกจากนี้การเติบโตของรายได้ในระยะข้างหน้ายังมีข้อจำกัดจากปัญหาด้านทักษะแรงงาน ขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจขนาดกลางและเล็ก การปรับโครงสร้างสู่ธุรกิจแห่งอนาคตซึ่งยังคงอยู่ระหว่างดำเนินการ แต่ไทยต้องเผชิญกับสนามการค้าโลกที่ปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว และการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ซึ่งจะยิ่งซ้ำเติมปัญหาการขาดแคลนแรงงานและภาระด้านสาธารณสุขในระยะยาว

You May Also Like

More From Author